“รสนา” ร้อง สตง.สอบเงินดิจิทัล 10,000 บาท เข้าข่ายละเมิดกฎหมาย
ห่วงใช้งบ "ดิจิทัลวอลเล็ต 10,000 บาท" สุดท้ายภาระการคลังอยู่ดี
ชำแหละ “เงินดิจิทัล 10,000 บาท” ท้าทายเงินเฟ้อ-กฎหมาย-เทคโนโลยีบล็อกเชน
เมื่อวันที่ 19 ต.ค. 2566 นางสาวรสนา โตสิตระกูล อดีตสมาชิกวุฒิสภา เดินทางยื่นหนังสือต่อผู้แทนประธานกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน ที่สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน (สตง.) ขอให้ตรวจสอบนโยบายแจกเงินดิจิทัลวอลเล็ต 10,000 บาท ซึ่งตนมองว่า โครงการนี้มีปัญหามิชอบด้วยกฎหมาย และอาจเกิดความเสียหายกับการเงินการคลังของรัฐ
โดยมีเหตุผล 6 ข้อ ที่นางสาวรสนา มองว่านโยบายนี้มิชอบด้วยกฎหมาย
และส่งผลเสียกับวินัยการเงินการคลัง คือ ได้ไม่คุ้มเสีย เพราะต้องใช้งบประมาณถึง 560,000 ล้านบาท ควรนำเงินจำนวนนี้ไปลงทุนกับโครงการอื่นที่ทำให้เศรษฐกิจเติบโตในระยะยาว มากกว่าการกระตุ้นการบริโภคเพียงชั่วคราวระยะสั้น
ทั้งนี้ยังขัดต่อพระราชบัญญัติเงินตรา เพราะตามเอกสารหาเสียงของพรรคเพื่อไทยเหรียญดังกล่าวมีลักษณะเป็น “คริปโทเคอร์เรนซี” ไม่ใช่ “โทเคนดิจิทัล” จึงต้องขออนุญาตจากกระทรวงการคลัง และต้องดำเนินการผ่านธนาคารแห่งประเทศไทย ดังนั้น การที่บอกว่านี่คือโทเคนดิจิทัล
จึงอาจเข้าข่ายการสำแดงเท็จเพื่อหลีกเลี่ยงการขออนุญาตตามพระราชบัญญัติเงินตราพ.ศ. 2501 เพิ่มความสิ้นเปลืองแก่ประเทศโดยไม่จำเป็น โดยมองว่า รัฐไม่จำเป็นต้องพัฒนาบล็อกเชนใหม่ เพราะมีผู้ให้บริการดิจิทัลวอลเล็ต และโมบายแบงค์กิ้งหลายแอพพลิเคชั่นอยู่แล้ว เช่น เป๋าตัง
อีกทั้งหลีกเลี่ยงหลักการใช้เงินแผ่นดิน เนื่องจากเห็นว่าโครงการนี้เข้าข่ายเป็นเงินแผ่นดิน แต่รัฐบาลไม่เสนอโครงการนี้ในกระบวนการงบประมาณต่อรัฐสภาจึงอาจเข้าข่ายฝ่าฝืนรัฐธรรมนูญ
รวมถึงซุกหนี้สาธารณะ เนื่องจากมีข่าวว่ารัฐบาลจะใช้วิธีกู้หนี้ธนาคารออมสินไปก่อน จึงมองว่าการดำเนินการเช่นนี้มีลักษณะเป็นการซุกหนี้ที่ไม่โปร่งใส และอาจอยู่นอกขอบวัตถุประสงค์ของธนาคารออมสิน
ขณะเดียวกันยังขัดกับพระราชบัญญัติวินัยการเงินการคลังของรัฐ พ.ศ. 2561 มาตรา 9 วรรค 3 ที่บัญญัติว่า คณะรัฐมนตรีต้องไม่บริหารราชการแผ่นดินโดยมุ่งสร้างความนิยมทางการเมืองที่อาจก่อให้เกิดความเสียหายต่อระบบเศรษฐกิจของประเทศและประชาชนในระยะยาว
ด้วยเหตุผลทั้งหมดนี้ นางสาวรสนา จึงขอเรียกร้องให้ สตง. ตรวจสอบนโยบายนี้เป็นการเร่งด่วน และใช้อำนาจตามมาตรา 8 พ.ร.บ. ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการตรวจเงินแผ่นดิน พ.ศ.2561 เพื่อประชุมร่วมกับสำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) และสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) หากพบว่าหากพบว่านโยบายรัฐขัดต่อกฎหมายและสร้างความเสียหายต่อวินัยการเงินการคลัง ก็มีโอกาสที่จะระงับยับยั้งโครงการดังกล่าวได้
นอกจากนี้ นางสาวรสนา จะเดินทางไปยื่นสำเนาหนังสือต่อ กกต. และ ป.ป.ช. ในช่วงบ่ายวันนี้ด้วย
อย่างไรก็ตามในช่วงบ่ายวันนี้ ที่กระทรวงการคลังจะมีการประชุม คณะอนุกรรมการ ขับเคลื่อนโครงการเติมเงิน 10,000 ผ่านดิจิทัล วอลเล็ต โดยจะมีการสรุปรายละเอียดโครงการ เพื่อไปรายงานในคณะกรรมการชุดใหญ่ ที่มีนายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรีและ รมว.คลัง เป็นประธาน ในวันที่ 24 ต.ค. 66 รวมทั้ง พิจารณาเรื่องการขยายขอบเขตการใช้เงินจากจากเดิมที่กำหนดไว้รัศมี 4 กิโลเมตร ให้ขยายยระยะทางการใช้จ่ายให้ครอบคลุมมากยิ่งขึ้น ส่วนจะยึดขอบเขตรายอำเภอ ซึ่งมีรหัสไปรษณีย์ชัดเจน ให้สามารถใช้จ่ายได้ตามอำเภอนั้นๆ หรือไม่ ต้องรอคณะกรรมการชุดใหญ่เห็นชอบอีกครั้งหนึ่ง
ราชกิจจาฯเผยแพร่คำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด 11 แกนนำพันธมิตรฯ
กางปฏิทินจ่ายเงินเดือนข้าราชการ ค่าจ้างลูกจ้างประจำ บำนาญ ปี 2566
ประกาศเตือนฉบับที่ 4 พายุดีเปรสชันทวีกำลังแรงขึ้น! คำพูดจาก สล็อต888