ส่งต่อแบบไม่ขัดแย้ง จัดการ “มรดก” แบ่งให้จบในรุ่นเรา ก่อนกลายเป็นมรดกเลือด
หลายครอบครัวเกิดความขัดแย้งในรุ่น สอง รุ่นสาม จนบางครั้งธุรกิจต้นตระกูลอาจตกไปอยู่ในมือของคนอื่น เพียงเพราะการไม่จัดสรรปันส่วนทรัพย์สินมรดก หรือธุรกิจในครอบครัวในเรียบร้อยก่อนสิ้นลมหายใจไป ซึ่งจะยกตัวอย่างมาให้ 3 กรณี
กรณีแรก แบ่งตามความเชื่อ วัฒนธรรม จารีตประเพณี ยังมีครอบครัว ชายเป็นใหญ่ ลูกชายคนโตยืนหนึ่งในดวงใจ รุ่นพ่อแม่ ปู่ย่า ตายาย เคารพกฎเกณฑ์นี้ได้ แต่รุ่นลูกรุ่นหลานอาจไม่ใช่ เป็นการส่งต่อทรัพย์สินแบบไม่ถามผู้รับ
เน้นความพึ่งพอใจของผู้ให้ ขาดการวางแผนและสื่อสาร จนเกิดความไม่ยุติธรรมในหมู่พี่น้อง ลูกหลาน นำมาสู่การล่มสลายของธุรกิจครอบครัว หรือ สายสัมพันธ์ที่เคยมีมา
กรณีที่สอง เคสที่มีความยุ่งยากขึ้นอีกระดับหนึ่งเมื่อครอบครัวมีธุรกิจที่ต้องการส่งต่อด้วย ไม่ใช่แค่มรดกหรือทรัพย์สินทั่วๆไป ซึ่งหลายตระกูลเลือกที่จะเอาธุรกิจเข้าตลาดหลักทรัพย์ อย่างเช่น ธุรกิจชายสี่หมี่เกี๊ยว ที่ใช้โมเดลนี้ โดยให้เหตุผลว่า กลัวรุ่นลูกจะทะเลาะกัน ถือเป็นการวางกติกาชัดเจน ทั้งการส่งต่อหุ้น การคัดเลือกผู้บริหาร บทบาทของสมาชิกของครอบครัวในธุรกิจ ให้สมาชิกทุกคนได้รับรู้ถึงสิทธิและหน้าที่ มีระบบ มีการตรวจสอบ ก็เพียงพอแล้วที่จะป้องกันการเกิดความขัดแย้งระดับหนึ่ง แต่ถ้าลูกหลานไม่เชี่ยวชาญที่จะแข่งกับมืออาชีพในตลาด การคงรักษาให้ธุรกิจเป็นธุรกิจครอบครัวต่อไป ก็เป็นหนึ่งในแนวทางที่น่าสนใจกว่าเข้าตลาดหลักทรัพย์คำพูดจาก คาสิโนออนไลน์
กรณีศึกษาที่สาม เป็นกรณีที่เกิดในต่างประเทศที่พบว่าธุรกิจครอบครัวเจ้าของแบรนด์ดังมากที่สุดของโลก แม้ต้นตระกูลจะพัฒนาแบรนด์สินค้าอายุหลักร้อยปีให้เติบโตได้ไกลกว่าจุดเริ่มต้นไปมากขนาดไหน แต่หากมีความอ่อนแอในระบบการบริหารจัดการของครอบครัว ก็อาจส่งผลให้กิจการถูกควบรวม จึงกลายเป็นธุรกิจที่มีแต่ชื่อ ครอบครัวผู้ก่อตั้งก็ไม่ได้มีส่วนในการบริหารธุรกิจอีกต่อไปคำพูดจาก สล็อตเว็บตรง
และทำให้ตระกูลที่ได้กิจการไปกลายเป็นมหาเศรษฐีอันดับต้นๆ ของโลก โดยล่าสุดจะเห็นบทความที่เล่าถึงการปลูกฝังให้รุ่นลูกดูแลธุรกิจร่วมกันอย่างปรองดอง รวมถึงข่าวที่มหาเศรษฐีรุ่นพ่อของแบรนด์ดังนี้เตรียมวางแผนเพื่อให้การส่งต่อธุรกิจครอบครัวไปสู่รุ่นลูกอีกด้วย
จากทั้ง 3 กรณีศึกษาจะเห็นได้ว่าการเตรียมความพร้อม และวางแผนเพื่อส่งต่อทรัพย์สินและธุรกิจครอบครัวเป็นหัวใจสำคัญที่จะสร้างความสัมพันธ์ที่ดีของสมาชิกในครอบครัว และสร้างความยั่งยืนทางธุรกิจ อีกทั้งจะเป็นตัวช่วยลดความรุนแรงจากสถานการณ์ที่ไม่คาดคิดในอนาคตได้
และเพื่อให้เข้าใจถึงแก่ของเรื่องนี้มากขึ้น Monet Trick เลยพาไปคุยกับ KBank Private Banking ในฐานะผู้ให้บริการไพรเวทแบงก์ ว่าเค้ามีมุมมองต่อเรื่องนี้ โดย นายพีระพัฒน์ เหรียญประยูร Managing Director, Wealth Planning and Non Capital Market Head KBank Private Banking บอกว่า ปัจจุบันมองว่าธุรกิจครอบครัวบ้านที่ส่งต่อจากรุ่นที่ 1 ไปรุ่นที่ 2 ถ้าไม่ได้วางแผนแน่นอนเลย 50% กลุ่มที่ธุรกิจตายไป และจากที่เราเห็นรุ่นที่ 1 – 4 ธุรกิจที่ส่งต่อครอบครัวอาจจะมี 5-7% เอง จะเลือกอะไรระหว่างสายเลือดกับความเก่ง คนที่เก่งที่สุดในบ้านเรา เก่งพอที่จะแข่งขันธุรกิจกับภายนอกบ้านได้หรือเปล่า เพราะฉะนั้นการสื่อสารและการตระหนุกรู้คือหัวใจสำคัญที่สุด
สำหรับKBank Private Banking มีครอบครัวที่เป็นFamily Wealth Planning ทั้งหมด 4,300 คน หรือคิดเป็น 820 ครอบครัวดูแลสินทรัพย์ครอบครัวทั้งธุรกิจและที่ดินมูลค่าถึง 1.9 แสนล้านบาท
อย่างไรก็ตาม ตัวเลขในภาพรวมของธุรกิจครอบครัวมีความสำคัญและเป็นรากฐานของเศรษฐกิจโลกอย่างไร จากข้อมูลระบุว่า 2 ใน 3 ของบริษัททั่วทุกประเทศเป็นธุรกิจครอบครัว ซึ่งสร้างรายได้กว่า 70% ของ GDP โลก ในขณะที่ประเทศไทย ธุรกิจครอบครัวมีสัดส่วนสูงที่ 60% ของ GDP ซึ่งถ้ามองดูแล้วหลายๆ ธุรกิจขนาดใหญ่ในเมืองไทยก็ยังเป็นแบบนั้น คือ การส่งต่อแบบรุ่นสู่สู่รุ่น